Blog Headlines

หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2553

Fedd RSS ใช้ประโยชน์อย่างไร


หลายคนอาจจะเริ่ม สังเกตว่ามี Icon บางอย่างเพิ่มขึ้นมา บนหน้าของเวปที่เคยเข้าบ่อยๆ และเวปอื่นๆ ก็มีเหมือนกัน และก็เริ่มมีกันมากขึ้น แต่ เอ๊ะแล้วรู้กันไหมล่ะว่า ไอคอนเหล่านั้นมันคืออะไร

เดี๋ยวนี้มีไอคอนที่กึ่งๆจะเป็นมาตราฐาน(เพราะมีให้เห็นกันได้หลายๆเวปแล้ว) เพิ่มกันขึ้นมาให้เห็นกันมากมาย หนึ่งในไอคอนนั้นก็คือ RSS ครับ

ไอคอนนี้มี หลายชื่อครับ บางชื่อเรียกตามความหมาย, เรียกตามนิยาม , เรียกตามคำย่อ สารพัดจะเรียก(งงดีเหมือนกันแฮะ แล้วtu จะเรียกอะไรให้สนิทปากดี) RSS มันเริ่มจะมีบทบาทขึ้นมา เมื่อมีการบัญญัติ เวป เวอร์ชั่น 2.0 ขึ้นมาครับ
จึงเป็นเหตุให้คนที่เล่นเวปยุคแรกๆ(รุ่นเดียวกับผมครับ) ไม่เคยเห็นมันมาก่อน และก็เพิ่งมาเคยเห็นพร้อมๆกับคนเล่นเวปรุ่นใหม่นี่แหละครับ ส่วนเวป เวอร์ชั่น 2.0 มันคืออะไร แล้ว เวอร์ชั่น 1.0 มันมีตั้งแต่เมื่อไหร่ คนเล่นเวปรุ่นเก่า(ผมนี่แหละ)ก็ไม่ยักรู้ว่ามันมีตอนไหน(หว่า) แล้ววันหลังจะมาเล่าให้ฟัง

มาดูว่า RSS มันคืออะไรก่อนดีกว่า

RSS คือ อะไร



RSS ย่อมาจากคำว่า Real Simple Syndication (RSS 2.0)

ตอนนี้กลายเป็นมาตราฐาน หรือไม่ก็ถูกยอมรับกันอย่างกว้างขวางแล้ว ในวงการบทความ และ แลกเปลี่ยนข่าวสารกัน บนโลก online

RSS หมายถึง วิธีการที่ข้อมูลข่าวสาร บนแหล่งแหล่งข้อมูลหนึ่ง(โดยส่วนใหญ่อยู่บนเวป) อยากจะบอกให้ประชนชนรู้ว่า แหล่งข้อมูลนั้นมีอะไรอยู่

หลักการก็คือ มันจะประกาศคุณสมบัติตนเองให้คนอื่นรู้ด้วยข้อความ(metadata คือ ข้อมูลหนึ่ง ที่ อธิบายคุณสมบัติของข้อมูลนั้น)
เช่น บอก หัวเรื่องของบทความ เนื้อหาโดยย่อ ผู้แต่ง วันที่เขียน ลิขสิทธิ์

RSS Feed หมายถึง ไฟล์ชนิดหนึ่ง(xml file format)อยู่บนเวป ซึ่งจะยอมให้ ผู้ใช้ อินเตอร์เนทอ่านได้ โดยใช้โปรแกรมที่อ่านfeedได้ เป็นตัวอ่าน ซึ่งเนื้อหาใน feed ก็คือ metadataของเวปนั้นๆ ที่รวมๆกันให้เราอ่านโดยจัดเรียงข้นมูลใหม่ๆไว้ในลำดับต้นๆ

โปรแกรมที่ใช้ในการอ่านfeed(Feed Reader) มีให้เราเลือกใช้กันเยอะขึ้นแล้ว โดยปกติมีใช้อยู่ 2กลุ่มใหญ่ๆ คือ เป็น Stand alone reader และ Web base reader

ตัวอย่างของ Stand alone reader เช่น
Feed Reader
MS Outlook(Plugin)
NewsGator(ใช้ MS Outlook)
เครื่องมืออ่าน Feed อื่นๆ

ตัวอย่างของ Web base reader ตอนนี้มีมากมายหลายเจ้ามาก
ของ Blogger ที่ผมใช้อยู่นี่ก็มี Feed Reader เช่นกัน(ว่างๆจะมาแนะวิธีใช้)
และ Gmail ที่เป็น Partner กับ Blogger ก็มีของตนเองให้ใช้ด้วย ชื่อว่า Google Reader(ดีกว่า Blogger feed ว่างๆจะมาแนะวิธีใช้เช่นกัน)

ส่วนรายอื่นๆก็มีเช่น
My Yahoo(อยู่ในส่วน Personalized)
NewsGator
ฟรีเวบเบสทั่วไป

เมื่อเรามีเครื่องมือในการอ่าน Feed แล้ว เราก็สมัคร Feed กับเวปที่เปิดให้เราสมัคร(สังเกตได้จากสัญลักษณ์ของ RSS) เมนูของเครืองมือในการอ่าน Feed จะช่วยให้เราจัดการ Feed ของแต่ละเวปได้

ถึงจุดนี้ จะเห็นแล้วว่า จุดเด่นของ RSS คือผู้ใช้จะไม่จำเป็นต้องเข้าไปตามเว็บไซต์ต่างๆเพื่อดูว่ามีข้อมูลอัปเดทใหม่หรือไม่ เราเพียงเปิดเครื่อมือในการอ่าน Feed ของเราเท่านั้น ก็สามารถเข้าไปอ่านบทความของเวปที่เราสมัคร Feed ไว้
เว็บไซต์แต่ละแห่งอาจมีระยะความถี่ในการอัปเดทไม่เท่ากัน Feed จะช่วยให้รับข่าวสารอัปเดทใหม่ได้โดยไม่ต้องเปิดเวปนั้นเข้าไปดูทุกครั้งให้เสียเวลา ได้ประโยชน์ทั้งฝ่ายผู้บริโภคและฝ่ายเจ้าของเว็บไซต์


ประวัติคร่าวๆของ RSS



Netscape เป็นผู้เริ่มต้นระบบ RSS ขึ้นมา ในปี 1999 ในชื่อว่า Rich Site Summary (RSS 0.90)

World Wide Web Consortium (W3C) สร้างให้เป็น สแตนดาร์ด ต่อมาในปี 2000 ในชื่อ RDF Site Summary (RSS 1.0)
Resource Description Framework (RDF)เป็น ผู้ที่เริ่มต้นในการกำหนดภาษาของ ที่มีใช้ในเวปไซต์ คือ metadata

แล้วในปี 2003 "Berkman Center for Internet & Society"แห่ง
Harvard Law Schoolได้ปล่อย Real Simple Syndication(RSS 2.0)ออกมา ใช้เป็นชื่อของ Application ที่ใช้งานพิเศษ และรวมคุณสมบัติ ของ RDF Site Summary ซึ่งระบบนี้ถูกพัฒนาใช้งานกับ Content บนระบบ online เป็นหลัก

ไม่มีความคิดเห็น: